โรคหัวใจ ถือเป็นโรคติดอันดับในผู้สูงอายุเนื่องจากการทำงานของอวัยวะต่างๆ เสื่อมลง สถิติสาธารณะสุขของประเทศไทยในปี 2564 พบว่าโรคหัวใจขาดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยมากเป็นอันดับ 4 รองจากโรคมะเร็ง แต่ในปัจจุบันกลับพบว่าผู้ป่วยโรคหัวใจนั้นมีอายุน้อยลง อาจเป็นเพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น มีภาวะอ้วน สูบบุหรี่เมื่ออายุยังน้อย เป็นต้น
โรคหัวใจ คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท
1. เส้นเลือดหัวใจตีบ
2. ลิ้นหัวใจผิดปกติ เช่น ลิ้นหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจรั่ว
3. กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ
4. ระบบไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ เป็นสาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะ
5. หัวใจพิการแต่กำเนิด
อาการของโรคหัวใจมักจะแสดงต่างกันไปโดยส่วนมากจะมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ป่วยที่เป็นกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติจะมีอาการท้องโต ขาบวม นอนราบไม่ได้
N Health ขอชวนทุกท่านมาเพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ เพื่อความเข้าใจในโรค และการดูแลสุขภาพได้อย่างตรงจุด เราจึงรวบรวม 6 ความเชื่อเกี่ยวกับโรคหัวใจที่คนมักเข้าใจผิดมาไขความจริงให้กระจ่าง
ความเชื่อที่ 1
❌ คนอายุน้อย คนผอมมีระดับไขมันในเลือดปกติไม่มีโอกาสเป็นโรคหัวใจ
✅ แม้กลุ่มคนเหล่านี้จะมีความเสี่ยงน้อย แต่ก็ยังมีโอกาสเกิดโรคเช่นกัน
ความเชื่อที่ 2
❌ เป็นโรคหัวใจ ห้ามออกกำลังกาย
✅ คนเป็นโรคหัวใจควรออกกำลังกายเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง เพิ่มเลือดไปเลี้ยงสมองและอวัยวะภายใน แต่ควรปรึกษาแพทย์อย่างใกล้ชิดไม่หักโหม
ความเชื่อที่ 3
❌ กินยาลดไขมันแล้ว จะทานอาหารอะไรก็ได้
✅ ยังคงต้องควบคุมอาหารเพราะยาช่วยลดไขมันจากตับเพียงเท่านั้น ไม่ได้ช่วยลดไขมันที่มาจากการทานอาหารนั่นเองหากทานมากไขมันก็ยังคงเพิ่มเช่นเดิม
ความเชื่อที่ 4
❌ ผู้ที่กินยาคุมเบาหวาน จะไม่เสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
✅ แม้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจะช่วยลดหรือทำให้โรคหัวใจพัฒนาได้ช้าลง แต่ยังคงมีความเสี่ยงโรคหัวใจและอาการอื่นๆ เช่นเส้นเลือดสมองแตก ตีบ ตัน
ความเชื่อที่ 5
❌ ความดันโลหิตสูงเป็นปกติของผู้สูงอายุ
✅ ผู้สูงอายุมักมีความดันโลหิตสูงแต่ไม่ใช่เรื่องปกติที่ควรละเลย เพราะอาจเป็นสาเหตุสู่ การเกิดหัวใจวาย เส้นเลือดในสมอง แดก ตีบ ตัน ได้ เพราะฉะนั้นต้องคอยระวังอยู่เสมอ
ความเชื่อที่ 6
❌ ไม่จำเป็นต้องตรวจไขมันในเลือดจนกว่าจะอายุเข้าสู่วัยกลางคน
✅ ไขมันในเลือดควรตรวจตั้งแต่อายุน้อยเพื่อการป้องกันโรคในอนาคต
ความเชื่อผิดๆ อาจทำให้เกิดการป้องกัน และการดูแลที่ไม่ถูกวิธี เพราะหัวใจเป็นส่วนสำคัญของร่างกาย จึงควรรู้และดูแลอย่างถูกต้อง เมื่อได้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคหัวใจแล้ว อย่าลืมดูแลหัวใจและร่างกายของคุณจากการสังเกต และการตรวจสุขภาพเป็นประจำเพื่อความมั่นใจในสุขภาพที่ดีพร้อมใช้ชีวิตได้อย่างมึความสุขนะคะ