6.คุณเสี่ยงเป็นมะเร็ง ในระยะเริ่มต้นหรือไม่__NNG_Finall-01.webp
คุณเสี่ยงเป็นมะเร็งในระยะเริ่มต้นหรือไม่?
โรคมะเร็ง (Cancer) เกิดจากเซลล์ในร่างกายมีการเจริญเติบโตผิดปกติจนไม่สามารถควบคุมได้ และสามารถลุกลาม แพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ส่งผลให้เนื้อเยื่อ และอวัยวะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ จนเป็นสาเหตุให้เสียชีวิต
Published

จากรายงานของ WHO ในปี 2022 พบว่า มะเร็งที่คร่าชีวิตคนไทย มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ มะเร็งตับ มะเร็งปอด และมะเร็งลำไส้ ในเพศชาย และมะเร็งตับ มะเร็งเต้านม และ มะเร็งปอด ในเพศหญิง

โรคมะเร็ง สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย มะเร็งส่วนใหญ่พบในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 60-70 ปี เนื่องจากมะเร็ง เกิดจากการสะสมของความเสียหายในเซลล์ตลอดช่วงชีวิต รวมถึงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น สูบบุหรี่, รับประทานอาหารที่ไม่สมดุล, หรือประวัติครอบครัว และพบในบุคคลที่อายุน้อยกว่า 50 ปี เป็นส่วนน้อยรองลงมา แต่ในปัจจุบันจากการรายงานสถิติทางการแพทย์ พบผู้ป่วยมะเร็งที่อายุน้อยกว่า 50 ปี สูงขึ้น โดยเฉพาะมะเร็งเต้านมและลำไส้ ดังนั้น หากมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ หรือมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อาจต้องเริ่มตรวจคัดกรองตั้งแต่อายุ 40 ปี

การตรวจคัดกรองมะเร็งคืออะไร? 
การตรวจคัดกรองมะเร็ง หมายถึง การทดสอบที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อตรวจหา และประเมินความเสี่ยง ก่อนเป็นมะเร็ง หรือมะเร็งระยะเริ่มต้นในบุคคลที่ไม่มีอาการ (asymptomatic) เพื่อให้สามารถวินิจฉัยได้ทันเวลา และเริ่มการรักษาได้เร็วที่สุด ซึ่งการรักษาในระยะนี้อาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น 

ประโยชน์ของการตรวจคัดกรองมะเร็ง “รู้ก่อน รักษาได้ทัน” 
การตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มต้นหรือระยะก่อนเป็นมะเร็ง (precancerous stage) ช่วยลดอัตราการเกิดโรค (incidence) และอัตราการเสียชีวิตและความเจ็บป่วย (mortality and morbidity) ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งนั้นๆ ได้ดีกว่าการตรวจพบมะเร็งในระยะที่มีความเติบโตของเซลล์มะเร็งมากขึ้น หรือตรวจพบในระยะที่มีการแพร่กระจายของมะเร็งไปยังอวัยวะอื่นๆ

การตรวจคัดกรอง (Screening) กับการวินิจฉัยระยะแรก (Early Diagnosis) แตกต่างกันอย่างไร 
การวินิจฉัยระยะแรกและการตรวจคัดกรองมะเร็งเป็นกลยุทธ์ที่แตกต่างกัน แต่มีความเกี่ยวข้องกันในการส่งเสริมการตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มต้น

การตรวจคัดกรอง (Screening) : มุ่งเน้นการตรวจผู้ที่ยังไม่มีอาการ (Asymptomatic)
แต่ด้วยอายุที่มากขึ้น หรือมีปัจจัยเสี่ยงจากการใช้ชิวิต มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง WHO (องค์การ อนามัยโลก) ได้แนะนำ ส่งเสริมให้เข้ารับการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาความผิดปกติที่อาจเป็นมะเร็งในระยะแรก ได้ตั้งแต่ที่ยังไม่มีอาการ เพื่อช่วยลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้พัฒนาไปเป็นมะเร็ง เพื่อเข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็ว หากตรวจพบสัญญาณการบ่งชี้เกี่ยวกับมะเร็ง ยิ่งรู้เร็วยิ่งมีโอกาสรอดชีวิตมากกว่าตรวจพบในระยะหลังๆหรือระยะแพร่กระจาย 

การวินิจฉัยระยะแรก (Early Diagnosis): เน้นการตรวจและยืนยันโรคในผู้ที่เริ่มมีอาการ (Symptomatic)
หมายถึงการตรวจพบมะเร็งที่แสดงอาการแล้วในระยะเริ่มต้น เพื่อให้สามารถเริ่มเข้าสู่กระบวนการรักษาได้อย่างรวดเร็ว

6.คุณเสี่ยงเป็นมะเร็ง ในระยะเริ่มต้นหรือไม่__NNG_Finall_Artboard 2.webp

N Health มีให้บริการ ตรวจคัดกรองความเสี่ยงของมะเร็ง ระยะเริ่มต้นตั้งแต่ยังไม่แสดงอาการ ด้วยการตรวจหาสารพันธุกรรมของเซลล์มะเร็งที่ถูกปลดปล่อยออกมาในกระแสเลือด (Circulating Tumor DNA: ctDNA) ช่วยในการคัดกรองความเสี่ยงของมะเร็ง 5 ชนิด ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งกระเพาะอาหาร ด้วยการเจาะเลือกเพียงครั้งเดียว โดยใช้เทคโนโนโลยีที่ทันสมัย สามารถติดต่อสอบถามและเข้ารับการตรวจได้ที่ รพ.ในเครือ BDMS หรือ  N Health 30 สาขาทั่วประเทศ รวมถึงโรงพยาบาลและคลินิคใกล้บ้านคุณ

หมายเหตุ 
ตรวจคัดกรองความเสี่ยงของมะเร็ง 5 ชนิด ด้วยการตรวจหาสารพันธุกรรมของเซลล์มะเร็งที่ถูกปลดปล่อยออกมาในกระแสเลือด (Circulating Tumor DNA: ctDNA) เหมาะกับ 
- ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากมีความเสี่ยงของมะเร็งชนิดต่างๆ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้มีการตรวจคัดกรองความเสี่ยงมะเร็ง เช่นเดียวกับการตรวจสุขภาพประจำปี แม้ไม่มีอาการใดๆ โดยอายุเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 40 ปี เพื่อค้นหาความผิดปกติของเซลล์ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น 
- บุคคลทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขี้นไปที่รักสุขภาพ และมีความต้องการในการตรวจคัดกรองความเสี่ยงมะเร็ง 
- ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคมะเร็ง เช่น ผู้ที่สูบบุหรี่จัด ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ หรือผู้ที่มีประวัติโรคมะเร็งในครอบครัวสายตรงเป็นต้น  

อ้างอิง
World Health Organization. (2020). Cancer early diagnosis: A guide for health professionals. World Health Organization.
https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/351396/9789289057561-eng.pdf
International Agency for Research on Cancer. (2020). Thailand: Cancer fact sheet. World Health Organization.
https://gco.iarc.who.int/media/globocan/factsheets/populations/764-thailand-fact-sheet.pdf
American Cancer Society. (2023). Cancer facts & figures 2023. American Cancer Society.
https://www.cancer.org/research/cancer-facts-statistics.html