30.009_T067_-ANA-screening-_Quantitative-14-antibodies__NTest_Sep_2023.webp
ANA screening (Quantitative 14 antibodies)
ในสภาพปกติร่างกายของคนเราจะไม่มีภูมิต้านทานต่อเนื้อเยื่อของตนเอง แต่ด้วยสาเหตุอะไรก็ตามที่ทำให้กลไกการควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ และมีปฏิกิริยาตอบสนองโดยการสร้าง Antibody ต่อเนื้อเยื่อหรือส่วนประกอบของตนเอง ภาวะดังกล่าว เรียกว่า Autoimmunity และคนกลุ่มนี้จะมีการตรวจพบ Anti Nuclear Antibody (ANA)
Published

         ในสภาพปกติร่างกายของคนเราจะไม่มีภูมิต้านทานต่อเนื้อเยื่อของตนเอง แต่ด้วยสาเหตุอะไรก็ตามที่ทำให้กลไกการควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ และมีปฏิกิริยาตอบสนองโดยการสร้าง Antibody ต่อเนื้อเยื่อหรือส่วนประกอบของตนเอง ภาวะดังกล่าว เรียกว่า Autoimmunity และคนกลุ่มนี้จะมีการตรวจพบ Anti Nuclear Antibody (ANA)  

        การตรวจ ANA ใช้ในการวินิจฉัยโรคในกลุ่ม ANA-associated rheumatic diseases เช่น Systemic lupus erythematosus(SLE),Systemic sclerosis (โรคหนังแข็ง), Mixed connective tissue disease (โรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน), Primary Sjögren’s syndrome (กลุ่มอาการโจเกรน), Polymyositis/Dermatomyositis (กล้ามเนื้ออักเสบ) เป็นต้น ซึ่งอาการของกลุ่มโรคนี้มีได้ตั้งแต่ปวดข้อและกล้ามเนื้อ มีไข้ มีผื่นขึ้นตามตัว อ่อนเพลีย ตาแห้ง ช่องปากอักเสบ ผมร่วง เจ็บหน้าอก จะเห็นได้ว่าอาการมีได้หลากหลายมากจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุของโรค

        การตรวจ ANA ด้วยหลักการ IFA (Indirect immunofluorescence assay) ถือเป็น Gold standard method สำหรับการตรวจ ANA screening การทดสอบด้วยวิธี IFA ให้ความไวสูง (81.7-98.7%) แต่ในขณะเดียวกันก็อาจจะขาดความจำเพาะ (61.0-88.6%) ต่อกลุ่มโรค Autoimmune rheumatic disease

ในปัจจุบันมีการตรวจ ANA screening ด้วยหลักการอื่น เช่น Fluoro-enzyme Immunoassay (FEIA) ซึ่งมีข้อดี ดังนี้
• สามารถรายงานผลของ 14 Antibodies เป็น Quantitative Results ได้ด้วยระบบ Fully Automated
• ใช้คัดกรองผู้ป่วยในกลุ่มโรค CTDs ด้วยการตรวจเพียงครั้งเดียว
• High specificity (Specificity 84% สำหรับการตรวจโรคกลุ่ม CTDs) ช่วยในการลด False positive
• High sensitivity (Sensitivity 92% สำหรับการตรวจโรคกลุ่ม CTDs) ทำให้ตรวจ Specific autoantibody         ในคนไข้ที่ยังไม่แสดงอาการได้
• สามารถใช้ผลได้ทั้ง Diagnosis, Prognosis และ Follow up
 image.webpN Health เปิดให้บริการ ANA screening (Quantitative 14 antibodies)(CTD screening) 
image.webpที่มา :
- https://www.lupus.org/resources/the-antinuclear-antibody-ana-test
- https://www.cdc.gov/lupus/basics/symptoms.htm
- https://ard.bmj.com/content/early/2018/12/08/annrheumdis-2018-214805
- Van der Pol P (2017) Analytical and clinical comparison of two fully automated immunoassay systems for the detection of autoantibodies to extractable nuclear antigens. Clin Chim Acta. 2018 Jan;476: 154-159.doi: 10.1016/j.cca.2017.11.014. Epub 2017 Nov21