กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เผยผลสำรวจในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ว่า ร้อยละ 59% ของคนไทย คิดว่าตัวเองมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงอยู่แล้ว จึงไม่คิดว่าตัวเองต้องเข้ารับการตรวจร่างกาย และมองข้ามการตรวจร่างกายประจำปีไป ซึ่งมักจะพบในกลุ่มของคนที่เป็นแม่บ้านหรือพ่อบ้าน ผลเสียที่เกิดขึ้นคือการรู้ตัวเมื่อสายเกินแก้ ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากไปกับการรักษาและเสียเวลาในการเดินทางไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นการรู้เท่าทันสุขภาพร่างกายของตนเองจึงเป็นเรื่องที่คุณไม่ควรมองข้าม N Health จึงอยากจะมาอธิบายให้คุณเข้าใจว่าทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี และการตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจอะไรบ้าง
การตรวจสุขภาพประจำปี (Annual Health Check Up) คือการตรวจประเมินสุขภาพร่างกายโดยรวม สำหรับค้นหาความเสี่ยงหรือโรคแฝงในระยะเริ่มต้นที่ยังไม่แสดงอาการผิดปกติออกมา และเพื่อให้แน่ใจว่าระบบและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายยังทำงานได้ดีตามปกติ ไม่มีปัญหาที่อาจจะกลายเป็นโรคร้ายแรงและปัญหาใหญ่ในอนาคต สามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป ซึ่งถ้าคุณตรวจสุขภาพประจำปีแล้วพบความผิดปกติเกิดขึ้น คุณก็จะสามารถวางแผนการรักษาหรือปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ดีขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงที่โรคจะมีอาการหนักขึ้นได้
ปกติแล้วการตรวจสุขภาพจะตรวจปีละหนึ่งครั้ง แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงอาจได้ตรวจมากกว่านี้ได้ โดยโปรแกรมการตรวจสุขภาพประจำปีจะประกอบไปด้วยรายการตรวจที่สำคัญ ๆ เช่น การตรวจร่างกายทั่วไป การเจาะเลือดหรือตรวจเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาลและไขมัน การวัดความดันโลหิต การตรวจการทำงานของตับและไต ฯลฯ ซึ่งอาจจะมีการตรวจสุขภาพรายการอื่น ๆ อย่างการตรวจคัดกรองมะเร็งเพิ่มเติมได้ ขึ้นอยู่กับอายุ เพศ ประวัติสุขภาพของตนเองและครอบครัว รวมถึงปัจจัยเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ของแต่ละบุคคล
ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลาย ๆ คนมองว่าการตรวจสุขภาพเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญ ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี กว่าจะรู้ตัวว่าการตรวจสุขภาพสำคัญก็ตอนที่พบปัญหาสุขภาพในระดับรุนแรง จากการสะสมเป็นระยะเวลานานหลายปีแล้ว การตรวจสุขภาพเป็นการดูแลร่างกายเชิงป้องกันรูปแบบหนึ่ง ช่วยให้เราตื่นตัวกับสัญญาณเตือนต่าง ๆ อย่างโรคมะเร็งหรืออาการขาดวิตามิน และสามารถจัดการกับปัญหานั้นได้อย่างรวดเร็วก่อนที่จะสายเกินไป และนี่คือ 5 เหตุผลว่าทำไมคุณถึงควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
เหตุผลแรกว่าทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปีคือคุณจะรู้ว่าร่างกายของคุณกำลังเผชิญกับโรคอะไร ทำให้แพทย์รู้ความผิดปกติในร่างกายได้เร็ว โดยเฉพาะโรคเรื้อรังอย่างเบาหวาน ความดัน หรือโรคหัวใจที่ไม่มีอาการแสดงในช่วงแรก การตรวจพบตั้งแต่ช่วงแรกของการเกิดโรคจะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น มีโอกาสหายเร็วขึ้น และลดโอกาสในการเกิดผลแทรกซ้อนที่รุนแรงในอนาคตได้
การตรวจสุขภาพไม่ใช่แค่การค้นหาโรค แต่ยังช่วยบอกความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตด้วย จากผลตรวจ ประวัติสุขภาพของครอบครัว และพฤติกรรมการใช้ชีวิต แพทย์สามารถให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม ทั้งในด้านของการออกกำลังกาย การกำจัดความเครียด และการรับประทานอาหาร
การตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี ทำให้คุณมีประวัติสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถเปรียบเทียบผลตรวจในแต่ละปีและสังเกตการเปลี่ยนแปลงของร่างกายได้ จากการติดตามค่าต่าง ๆ อย่างระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต หรือการทำงานของตับและไต และนำไปคาดการณ์แนวโน้มสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
การตรวจสุขภาพไม่ได้มีประโยชน์ต่อแค่ตัวผู้ตรวจเท่านั้น ยังมีประโยชน์ต่อการวางแผนสุขภาพของคนในครอบครัวด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในกรณีที่ครอบครัวของคุณมีโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรม การรู้ข้อมูลสุขภาพช่วยให้ทุกคนในครอบครัวเข้าใจความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ และดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสม
การตรวจสุขภาพมีค่าใช้จ่ายอย่างแน่นอน บางคนอาจจะมองว่าราคาสูงและไม่คุ้มค่า แต่จริง ๆ แล้วการตรวจสุขภาพมีความคุ้มค่ามากและช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายได้ในระยะยาว โดยเฉพาะค่ารักษาพยาบาล เพราะถ้าตรวจเจอตอนที่โรคลุกลามไปมาก ๆ แล้ว การรักษาก็จะยากจะซับซ้อนยิ่งขึ้น ทำให้คุณเสียค่าใช้จ่ายสูงขึ้นนั่นเอง
การตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจอะไรบ้างนั้น ขึ้นอยู่กับแพ็กเกจตรวจสุขภาพเบื้องต้นที่เลือก รวมไปถึงความต้องการและประวัติสุขภาพของแต่ละบุคคล สำหรับรายการตรวจสุขภาพพื้นฐานประจำปีที่ควรตรวจ มีดังนี้
ตรวจร่างกายทั่วไป (ส่วนสูง น้ำหนัก BMI ความดันโลหิต)
ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (CBC)
ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FBS)
ตรวจระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c)
ตรวจระดับไขมันในเลือด (คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ HDL LDL)
ตรวจการทำงานของตับ (AST ALT)
ตรวจการทำงานของไต (BUN Creatinine)
ตรวจระดับกรดยูริก
ตรวจปัสสาวะ
เอกซเรย์ทรวงอก (Chest X-ray)
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG/ECG)
ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับ (AFP)
ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ (CEA)
ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA)
ตรวจปริมาณวิตามินดี (Vitamin D2/D3)
ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ (TSH, Free T3, Free T4)
ตรวจฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone)
ตรวจระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัส
ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ (CA 125)
ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งเต้านม (Cancer Antigen 15-3)
ตรวจปริมาณวิตามินดี (Vitamin D2/D3)
ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ (TSH, Free T3, Free T4)
ตรวจฮอร์โมนเพศหญิง (Estradiol, Progesterone)
ตรวจระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัส
ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับ (AFP)
ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ (CEA)
ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA)
ตรวจปริมาณวิตามินดี (Vitamin D2/D3)
ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ (TSH, Free T3, Free T4)
ตรวจฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone)
ตรวจระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัส
ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ (CA 125)
ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งเต้านม (Cancer Antigen 15-3)
ตรวจมะเร็งปากมดลูก (Pap Smear)
ตรวจเต้านมด้วยการตรวจทางรังสีวิทยา (Mammogram) สำหรับผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป
ตรวจปริมาณวิตามินดี (Vitamin D2/D3)
ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ (TSH, Free T3, Free T4)
ตรวจฮอร์โมนเพศหญิง (Estradiol)
ตรวจระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัส
ราคาแพ็กเกจการตรวจสุขภาพประจำปีมีหลากหลายราคา ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลหรือศูนย์ตรวจสุขภาพแต่ละแห่ง ซึ่งแต่ละแห่งก็จะมีลิสต์รายการการตรวจสุขภาพที่แตกต่างกันออกไป โดยที่ N Health มีแพ็กเกจตรวจสุขภาพให้เลือกมากมาย สามารถดูค่าใช้จ่ายและคลิกเข้าไปชมรายละเอียดรายการตรวจได้ที่นี่
แพ็กเกจตรวจสุขภาพเบื้องต้น (Healthy Beginner) 999 บาท
แพ็กเกจตรวจสุขภาพพื้นฐานเพื่อสุขภาพที่ดี (Healthy Life) 1,290 บาท
แพ็กเกจตรวจสุขภาพคุณพ่อ (Healthy Dad) 4,500 บาท
แพ็กเกจตรวจสุขภาพคุณแม่ (Healthy Mom) 4,700 บาท
แพ็กเกจตรวจสุขภาพคุณผู้ชาย (Healthy Guy) 4,500 บาท
แพ็กเกจตรวจสุขภาพคุณผู้หญิง (Healthy Lady) 4,700 บาท
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้คุณคงเข้าใจแล้วว่าทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี การตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีเป็นวิธีการดูแลตัวเองรูปแบบหนึ่งที่คุณสามารถเริ่มต้นทำได้เลย แต่ถ้าคุณยังไม่สะดวกไป แนะนำให้สังเกตอาการผิดปกติของร่างกายตัวเองไปก่อน พร้อมกับปรับพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตให้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ การรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ การออกกำลังกายเป็นประจำ หรือการรับประทานวิตามินเสริม เพื่อให้ร่างกายอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และพร้อมเผชิญกับทุกสถานการณ์